ชื่อ | คู่มือ ประโยค ๑-๒ อรรถกถาธรรมบท ภาค ๑ แปลโดยอรรถ |
ISBN | 978-616-300-155-9 |
ภาษา | ไทย |
ตีพิมพ์ปี | ๒๕๕๘ |
จำนวน | ๑,๐๐๐ เล่ม |
จำนวนหน้า | ๑๓๔ |
ผู้แปล | คณาจารย์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย |
โรงพิมพ์ | มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย |
ราคาปก | ๘๐ บาท |
เนื้อหาโดยย่อ | คู่มือ ประโยค ๑-๒ “อรรถกถาธรรมบท ภาค ๑ แปลโดยอรรถ” เล่มนี้ แปลมาจากอรรถกถาธรรมบท ภาษาบาลี ภาค ๑ ซึ่งเป็นผลงานของพระพุทธโฆสาจารย์ นักปราชญ์ชาวอินเดีย ผู้มีชื่อเสียงกึกก้อง เดินทางไปสิงหล (เกาะลังกา) เพื่อแปลพระไตรปิฎกและอรรถกถาจากภาษาสิงหลเป็นภาษาบาลี เมื่อ พ.ศ.๙๕๖ เป็นสำนวนการแปลอรรถกถา ซึ่งเป็นหลักสูตรวิชาแปลมคธเป็นไทย ชั้นประโยค ๑-๒ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ศึกษาเนื้อหาหรือเรื่องราว จำนวน ๑ วรรค คือ ยมกวรรค หมวดว่าด้วยธรรมเป็นคู่กัน มีจำนวน ๑๔ เรื่อง ๒๐ คาถา ในวรรคนี้เน้นถึงธรรมที่ตรงกันข้าม ถูกประมวลมาไว้ในหมวดเดียวกัน ธรรมที่ตรงกันข้ามนั้น คือความคิดชั่วกับความคิดดี การจองเวรกับการไม่จองเวร เป็นต้น
คู่มือ ประโยค ๑-๒ “อรรถกถาธรรมบท ภาค ๑ แปลโดยอรรถ”เล่มนี้ แปลโดยคณาจารย์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยกล่าวถึงธรรมที่ตรงกันข้าม ถูกรวบรวมไว้ในหมวดเดียวกัน ธรรมที่ตรงกันข้าม ได้แก่ความคิดไม่ดี กับความคิดดี การจองเวรกับการไม่จองเวร การแตกความสามัคคีกับความสามัคคี ผู้มีจิตไม่มั่นคงกับผู้มีจิตมั่นคง ผู้ไม่ควรนุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์กับผู้ควรนุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ สิ่งที่ไม่มีสาระกับสิ่งที่มีสาระ จิตที่ไม่ได้รับการอบรมกับจิตที่ได้รับการอบรม ผู้ทำบาปย่อมเศร้าโศกกับผู้ทำบุญย่อมบันเทิงใจ ผู้เรียนมากแต่ประมาทย่อมไม่ได้บรรลุมรรคผล กับผู้เรียนน้อยแต่ไม่ประมาทย่อมได้บรรลุมรรคผล ในเนื้อหาเล่มนี้ยังมีการตั้งหัวข้อเรื่อง เพื่อให้จดจำได้ง่าย พร้อมมีภาพประกอบ เพื่อความบันเทิงใจ
|