ชื่อ | คู่มือ ประโยค ๑-๒ อรรถกถาธรรมบท ภาค ๓ แปลโดยอรรถ |
ISBN | 978-616-300-157-3 |
ภาษา | ไทย |
ตีพิมพ์ปี | พฤษภาคม ๒๕๕๘ |
จำนวน | ๑,๐๐๐ เล่ม |
จำนวนหน้า | ๑๖๘ |
ผู้แปล | คณาจารย์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย |
โรงพิมพ์ | มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย |
ราคาปก | ๑๐๐ บาท |
เนื้อหาโดยย่อ | คู่มือ ประโยค ๑-๒ “อรรถกถาธรรมบท ภาค ๓ แปลโดยอรรถ” เล่มนี้ แปลมาจากอรรถกถาธรรมบท ภาษาบาลี ภาค ๓ ซึ่งเป็นผลงานของพระพุทธโฆสาจารย์ นักปราชญ์ชาวอินเดีย ผู้มีชื่อเสียงกึกก้อง เดินทางไปสิงหล (เกาะลังกา) เพื่อแปลพระไตรปิฎกและอรรถกถาจากภาษาสิงหลเป็นภาษาบาลี เมื่อ พ.ศ.๙๕๖ เป็นสำนวนการแปลอรรถกถา ซึ่งเป็นหลักสูตรวิชาแปลมคธเป็นไทย ชั้นประโยค ๑-๒ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ศึกษาเนื้อหาหรือเรื่องราว จำนวน ๒ วรรค คือ
ปุปผวรรค หมวดว่าด้วยดอกไม้ มี ๑๒ เรื่อง ๑๖ คาถา ในวรรคนี้เน้นการเปรียบเทียบระหว่างดอกไม้กับธรรรม ระหว่างดอกไม้กับกิเลส ระหว่างความหลงเพลินเลือกเก็บดอกไม้กับความยินดีกามคุณ ๕ พาลวรรค หมวดว่าด้วยคนพาล มี ๑๕ เรื่อง ๑๖ คาถา คำว่า คนพาล หมายถึงคนโง่ ไม่มีปัญญา ไม่รู้จักประโยชน์ในโลกนี้และประโยชน์ในโลกหน้า ไม่รู้จักพระสัทธรรม จึงต้องเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏอยู่ร่ำไป คู่มือ ประโยค ๑-๒ “อรรถกถาธรรมบท ภาค ๓ แปลโดยอรรถ” เล่มนี้ แปลโดยคณาจารย์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย กล่าวถึงเนื้อหาหรือเรื่องราวปุปผวรรค หมวดว่าด้วยดอกไม้ มี ๑๒ เรื่อง ๑๖ คาถา ในวรรคนี้จะประมวลเรื่องราวที่มีเนื้อหาการเปรียบเทียบระหว่างดอกไม้กับธรรมบ้าง ระหว่างดอกไม้กับกิเลสบ้าง ระหว่างอาการที่เก็บดอกไม้กับอาการอื่นๆ บ้าง เช่น เรื่องภิกษุ ๕๐๐ รูป มีเนื้อหาเปรียบเทียบระหว่างการเลือกเก็บดอกไม้ของนายมาลามารกับการเลือกปฏิบัติตามโพธิปักขิยธรรม ๗ ๓๗ ประการของพระเสขะ ในเรื่องภิกษุผู้เจริญมรีจิกัมมัฏฐาน มีเนื้อหาเปรียบเทียบระหว่างการตัดดอกไม้กับการตัดวัฏฏะในภูมิ ๓ อันได้แก่กามภูมิ รูปภูมิ และอรูปภูมิ ในเรื่องเจ้าชายวิฑูฑภะและเรื่องนางปติปูชิกา เปรียบเทียบระหว่างความหลงเพลินเลือกเก็บดอกไม้กับความยินดีกามคุณ ๕ ในเรื่องโกสิยเศรษฐีผู้ตระหนี่ เปรียบเทียบการที่ผึ้งเข้าไปดูดน้ำหวานของดอกไม้ ไม่ทำลายสีและกลิ่นของดอกไม้ กับการที่ภิกษุเข้าไปสู่ตระกูลไม่ทำลายตระกูล เป็นต้น และกล่าวถึงเนื้อหาหรือเรื่องราวพาลวรรค หมวดว่าด้วยคนพาล มี ๑๕ เรื่อง ๑๖ คาถา คำว่า คนพาล หมายถึงคนโง่ ที่ไม่มีปัญญา ไม่รู้จักประโยชน์ ไม่รู้จักพระสัทธรรม จึงต้องเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏ เช่น ชายคนใดคนหนึ่ง พระพุทธองค์ตรัสว่า สังสารวัฏยาวนานสำหรับคนพาล ผู้ไม่รู้แจ้งสัทธรรม ดุจราตรีหนึ่งยายนานสำหรับคนผู้นอนไม่หลับ และดุจระยะทางโยชน์หนึ่งยาวไกลสำหรับคนผู้เมื่อยล้า ในเรื่องอานันทเศรษฐี พระพุทธองค์ตรัสว่า คนพาลย่อมยึดมั่นถือมีนว่าบุตรของเรา ทรัพย์ของเรา ที่จริงตัวตนไม่มี บุตรและทรัพย์จะมีได้อย่างไร ในเรื่องพระอุทายี พระพุทธองค์ตรัสว่า คนพาลแม้อยู่ใกล้บัณฑิตตลอดชีวิต ก็ไม่รู้ธรรมเหมือนทัพพีไม่รู้รสแกง ฉะนั้น เป็นต้น
|