ชื่อ | คู่มือ ประโยค ๑-๒ อรรถกถาธรรมบท ภาค ๔ แปลโดยอรรถ |
ISBN | 978-616-300-158-0 |
ภาษา | ไทย |
ตีพิมพ์ปี | พฤษภาคม ๒๕๕๘ |
จำนวน | ๑,๐๐๐ เล่ม |
จำนวนหน้า | ๑๔๐ |
ผู้แปล | คณาจารย์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย |
โรงพิมพ์ | มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย |
ราคาปก | ๘๐ บาท |
เนื้อหาโดยย่อ | คู่มือ ประโยค ๑-๒ “อรรถกถาธรรมบท ภาค ๔ แปลโดยอรรถ” เล่มนี้ แปลมาจากอรรถกถาธรรมบท ภาษาบาลี ภาค ๔ ซึ่งเป็นผลงานของพระพุทธโฆสาจารย์ นักปราชญ์ชาวอินเดีย ผู้มีชื่อเสียงกึกก้อง เดินทางไปสิงหล (เกาะลังกา) เพื่อแปลพระไตรปิฎกและอรรถกถาจากภาษาสิงหลเป็นภาษาบาลี เมื่อ พ.ศ.๙๕๖ เป็นสำนวนการแปลอรรถกถา ซึ่งเป็นหลักสูตรวิชาแปลมคธเป็นไทย ชั้นประโยค ๑-๒ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ศึกษาเนื้อหาหรือเรื่องราว จำนวน ๒ วรรค คือ (๑) ปัณฑิตวรรค หมวดว่าด้วยบัณฑิต มีจำนวน ๑๑ เรื่อง ๑๖ คาถา คำว่า บัณฑิต หมายถึงผู้ปฏิบัติตามหลักธรรมคือกุศลกรรมบถ ๑๐ ประการ โดยสรุปก็คือทำดี พูดี คิดดี (๒) อรหันตวรรค หมวดว่าด้วยพระอรหันต์ มีจำนวน ๑๐ เรื่อง ๑๔ คาถา คำว่า อรหันต์ หมายถึงผู้กำจัดข้าศึกคือกิเลสด้วยอริยมรรค หรือผู้อยู่ห่างไกลจากกิเลส ผู้ควรแก่ปัจจัย ๔ ผู้ไม่มีที่ลับในการทำบาป และ (๓) สหัสสวรรค หมวดว่าด้วยหนึ่งในร้อยในพัน มีจำนวน ๑๔ เรื่อง ๑๐ คาถา ในวรรคนี้เน้นลักษณะเปรียบเทียบกันระหว่างสิ่งที่เป็นสาระ การกระทำที่เป็นสาระ และชีวิตที่มีสาระ จำนวนหนึ่ง กับสิ่งที่ไร้สาระ การกระทำที่ไร้สาระ และชีวิตที่ไร้สาระ จำนวน ๑๐๐ หรือ ๑,๐๐๐ เช่น ในเรื่องพระเถรีชื่อว่ากุณฑลเกสี พระพุทธองค์ตรัสว่า ธรรมะบทเดียวที่คนฟังแล้วสงบได้ ดีกว่าคาถาที่ไร้ประโยชน์ทั้ง ๑๐๐ คาถา การชนะตนเพียงคนเดียว ดีกว่าการชนะข้าศึกตั้ง ๑,๐๐๐ คน เป็นต้น
คู่มือ ประโยค ๑-๒ “อรรถกถาธรรมบท ภาค ๔ แปลโดยอรรถ” เล่มนี้ แปลโดยคณาจารย์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย กล่าวถึงเนื้อหาหรือเรื่องราว จำนวน ๓ วรรค คือ ปัณฑิตวรรค หมวดว่าด้วยบัณฑิต มีจำนวน ๑๑ เรื่อง ๑๖ คาถา คำว่า บัณฑิต หมายถึงผู้ปฏิบัติตามหลักธรรมคือกุศลกรรมบถ ๑๐ ประการ โดยสรุปก็คือทำดี พูดดี คิดดี ในวรรคนี้ตรัสถึงคุณลักษณะของบัณฑิตว่า บัณฑิตมีลักษณะคอยชี้โทษเหมือนชี้บอกขุมทรัพย์ บัณฑิตมีลักษณะคอยกล่าวสอนพร่ำสอน และห้ามจากความชั่ว เป็นกัลยาณมิตรยินดีในธรรมที่พระอริยะประกาศไว้ มีหน้าที่ฝึกตนดุจคนไขน้ำ ทำหน้าที่ไขน้ำ เป็นต้น มีลักษณะมั่นคง ไม่หวั่นไหวเพราะนินทาและสรรเสริญ ฟังธรรมแล้วย่อมผ่องใส เว้นฉันทราคะในขันธ์ ๕ไม่ยินดีไม่ยินร้าย เมื่อโลกธรรมมากระทบ ไม่ทำบาปเพราะอ้างความจำเป็น ย่อมลอยข้ามฝั่งนี้คือสักกายทิฏฐิ ไปถึงฝั่งโน้นคือนิพพานได้ อรหันตวรรค หมวดว่าด้วยพระอรหันต์ มีจำนวน ๑๐ เรื่อง ๑๔ คาถา คำว่า อรหันต์ หมายถึงผู้กำจัดข้าศึกคือกิเลสด้วยอริยมรรค หรือผู้อยู่ห่างไกลจากกิเลส ผู้ควรแก่ปัจจัย ๔ ผู้ไม่มีที่ลับในการทำบาป หมายถึงผู้ปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธเจ้าจนสามารถกำจัดกิเลสได้หมด ในวรรคนี้มีเนื้อหาเน้นคุณสมบัติของพระอรหันต์คือไม่มีความเร่าร้อนกระวนกระวาย ไม่ติดอาลัย บรรลุนิพพาน เป็นที่รักของเทวดาและมนุษย์ ไม่หวั่นไหวเพราะอิฏฐารมณ์และอนิฏฐารมณ์ จะอยู่ ณ สถานที่ใด จะเป็นบ้านหรือป่าก็ตาม สถานที่นั้นย่อมเป็นสถานที่น่ารื่นรมย์ เพราะท่านไม่มีแสวงหากามอีกต่อไป สหัสสวรรค หมวดว่าด้วยหนึ่งในร้อยในพัน มีจำนวน ๑๔ เรื่อง ๑๐ คาถา ในวรรคนี้เน้นลักษณะเปรียบเทียบกันระหว่างสิ่งที่เป็นสาระ การกระทำที่เป็นสาระ และชีวิตที่มีสาระ จำนวนหนึ่ง กับสิ่งที่ไร้สาระ การกระทำที่ไร้สาระ และชีวิตที่ไร้สาระ จำนวน ๑๐๐ หรือ ๑,๐๐๐ เช่น ในเรื่องเพชฌฆาตโจรเคราแดง และเรื่องพระเถระชื่อว่าพาหิยะ พระพุทธองค์ตรัสว่า คำพูดคือคาถาที่มีประโยชน์ กล่าวคือ คำพูดหรือคาถาที่แสดงเรื่องนิพพาน หรือขันธ์ ๕ เป็นต้น แม้มีเพียงคำเดียวหรือคาถาเดียว ก็ยังดีกว่าคำพูดหรือคาถาที่ไร้ประโยชน์ตั้ง ๑,๐๐๐ คาถา ในเรื่องพระเถรีชื่อว่ากุณฑลเกสี พระพุทธองค์ตรัสว่า ธรรมะบทเดียวที่คนฟังแล้วสงบได้ ดีกว่าคาถาที่ไร้ประโยชน์ทั้ง ๑๐๐ คาถา การชนะตนเพียงคนเดียว ดีกว่าการชนะข้าศึกตั้ง ๑,๐๐๐ คน เป็นต้น
|