ชื่อ | คู่มือ ประโยค ๑-๒ อรรถกถาธรรมบท ภาค ๒ แปลโดยพยัญชนะ |
ISBN | 978-616-300-059-0 |
ภาษา | ไทย |
ตีพิมพ์ปี | ๒๕๕๘ |
จำนวน | ๑,๐๐๐ เล่ม |
จำนวนหน้า | ๒๖๒ |
ผู้แปล | คณาจารย์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย |
โรงพิมพ์ | มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย |
ราคาปก | ๑๐๐ บาท |
เนื้อหาโดยย่อ | คู่มือ ประโยค ๑-๒ “อรรถกถาธรรมบท ภาค ๒ แปลโดยพยัญชนะ” เล่มนี้ แปลมาจากอรรถกถาธรรมบท ภาษาบาลี ภาค ๒ ซึ่งเป็นผลงานของพระพุทธโฆสาจารย์ นักปราชญ์ชาวอินเดีย ผู้มีชื่อเสียงกึกก้อง เดินทางไปสิงหล (เกาะลังกา) เพื่อแปลพระไตรปิฎกและอรรถกถาจากภาษาสิงหลเป็นภาษาบาลี เมื่อ พ.ศ.๙๕๖ เป็นสำนวนการแปลอรรถกถา ซึ่งเป็นหลักสูตรวิชาแปลมคธเป็นไทย ชั้นประโยค ๑-๒ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ศึกษาเนื้อหาหรือเรื่องราว จำนวน ๒ วรรค คือ
อัปปมาทวรรค หมวดว่าด้วยความไม่ประมาท มี ๙ เรื่อง ๑๒ คาถา คำว่า ความไม่ประมาท เป็นชื่อของสติ ผู้ที่ไม่มีความประมาทย่อมประสบผลที่พึงปรารถนาต่างๆ โดยที่สุดให้บรรลุมรรคผลนิพพาน จิตตวรรค หมวดว่าด้วยการฝึกจิต มี ๙ เรื่อง ๑๑ คาถา คำว่า จิต หมายถึงธรรมชาติที่คิดและสั่งสมอารมณ์ ซึ่งผู้ที่ฝึกจิตได้ ก็ใช้อริยมรรคข่มจิต ระงับจิตที่ดิ้นรน กวัดแกว่ง รักษาได้ยาก ห้ามได้ยาก ดิ้นรนไปมา เปลี่ยนแปลงง่าย เที่ยวไปไกล ไม่มีรูปร่าง ไม่มีสี อาศัยอยู่ในถ้ำนั้นให้เป็นจิตที่เกษม พ้นจากบ่วงมารคืออวิชชา ตัณหาและอุปาทานได้ คู่มือ ประโยค ๑-๒ “อรรถกถาธรรมบท ภาค ๒ แปลโดยพยัญชนะ” เล่มนี้ แปลโดยคณาจารย์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย กล่าวถึงเนื้อหาหรือเรื่องราวอัปปมาทวรรค หมวดว่าด้วยความไม่ประมาท มี ๙ เรื่อง ๑๒ คาถา ในวรรคนี้จะประมวลกล่าวถึงความไม่ประมาทเป็นทางแห่งความสำเร็จผลที่พึงปรารถนาต่างๆ โดยที่สุดเป็นทางแห่งการบรรลุอมตนิพพาน มารวมไว้ด้วยกัน เช่น เรื่องพระนางสามาวดี ว่าด้วยความไม่ประมาทเป็นเหตุให้บรรลุนิพพานปราศจากกิเลสอย่างสิ้นเชิง เรื่องนายกุมภโฆสก ว่าด้วยความไม่ประมาทเป็นเหตุให้ได้รับเกียรติยศ เป็นต้น และกลาวถึงเนื้อหาหรือเรื่องราวจิตตวรรค หมวดว่าด้วยการฝึกจิต มี ๙ เรื่อง ๑๑ คาถา คำว่า จิต หมายถึงธรรมชาติที่คิดและสั่งสมอารมณ์ ซึ่งมีคุณลักษณะคือ ดิ้นรน กวัดแกว่ง รักษาได้ยาก ห้ามได้ยาก ดิ้นรนไปมา เปลี่ยนแปลงง่าย และยังมีคุณลักษณะอีกคือ เที่ยวไปไกล เที่ยวไปดวงเดียว ไม่มีรูปร่าง อาศัยอยู่ในถ้ำ คำว่า การฝึก หมายถึงการฝึกด้วยอริยมรรค ๔ คือโสดาปัตติมรรค สกทาคามิมรรค อนาคามิมรรค และอรหัตผล ซึ่งผู้ที่ฝึกจิตได้ ก็จะใช้อริยมรรคชั้นใดชั้นหนึ่งข่มจิต ระงับจิตที่ดิ้นรน กวัดแกว่ง รักษาได้ยาก ห้ามได้ยาก ดิ้นรนไปมา เปลี่ยนแปลงง่าย ทั้งเที่ยวไปไกล เที่ยวไปดวงเดียว ไม่มีรูปร่าง อาศัยอยู่ในถ้ำนั้น ให้เป็นจิตที่เกษม พ้นจากบ่วงมารคืออวิชชา ตัณหาและอุปาทาน ได้ และในเนื้อหาเล่มนี้ยังมีการตั้งหัวข้อเรื่อง เพื่อให้จดจำได้ง่าย พร้อมมีภาพประกอบ เพื่อความบันเทิงใจ
|