เลข isbn | – |
ภาษา | ไทย |
พิมพ์ปี | กันยายน ๒๕๖๓ |
ครั้งที่พิมพ์ | ๑ |
จำนวนพิมพ์ | ๑,๐๐๐ เล่ม |
จำนวนหน้า | ๘๐ |
ขนาด | ๑๖ หน้ายก |
ที่ปรึกษา | ที่ปรึกษา : พระราชปริยัติกวี,ศ.ดร. พระเทพปวรเมธี, รศ.ดร.
พระเทพเวที, รศ.ดร. พระสุวรรณเมธาภรณ์, ผศ. พระเมธีธรรมาจารย์, รศ.ดร. พระราชปริยัติมุนี, รศ.ดร. พระโสภณวชิราภรณ์ พระครูโสภณพุทธิศาสตร์, ผศ.ดร. พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส, รศ.ดร. พระมหาไพรัชน์ ธมฺมทีโป, ผศ.ดร. รศ.ดร.สุรพล สุยะพรหม รศ.ดร.ณัทธีร์ ศรีดี |
บรรณาธิการ | รศ.ดร. โกนิฏฐ์ ศรีทอง |
ผู้ออกแบบปก | นายพิิจิตร พรมลี |
ผู้จัดรูปแบบ | นายสมบูรณ์ เพ่งพิศ |
ตรวจพิสูจน์อักษร | คณะกรรมการฝ่ายจัดกิจกรรมวิชาการและนิทรรศการ |
อุปถัมภ์การจัดพิมพ์ | : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย |
จัดพิมพ์โดย | คณะกรรมการฝ่ายจัดกิจกรรมวิชาการและนิทรรศการ
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เลขที่ ๗๙ หมู่ ๑ ตำบลลำไทร อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ๑๓๑๗๐ |
พิมพ์ที่ | โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
เลขที่ ๗๙ หมู่ ๑ ตำบลลำไทร อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ๑๓๑๗๐ โทร. ๐๓๕ ๒๔๘๐๐๐ ต่อ ๘๕๕๕-๘๕๕๙ โทรสาร ๐๓๕ ๒๔๘-๕๔๕ E-mail:mucu_press@outlook.co.th |
รายละเอียด | เนื้อหาโดยย่อ : สมเด็จบรมบพิตรพระราชสมภารเจ้า รัชกาลที่ ๕ ในฐานะองค์เอกอัครศาสนูปถัมภก ทรงมีพระราชประสงค์จะทรงทำนุบำรุงพระปริยัติศาสนาให้วัฒนาสถาพรยิ่งขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ในขณะนั้น พ.ศ.๒๔๓๐ โปรดเกล้าฯให้ย้ายการบอกพระปริยัติธรรมจากเก๋งหน้าวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ไปที่วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ เพื่อเป็นที่ศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติธรรมของพระสงฆ์ฝ่ายมหานิกายและคฤหัสถ์ พร้อมทั้งโปรดเกล้าฯ ให้เรียกว่า “มหาธาตุวิทยาลัย” นับเป็นครั้งแรก ที่มีการใช้คำว่า “วิทยาลัย” ในประเทศไทยเมื่อวันที่ ๘ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๓๒ เพื่อเป็นสถานศึกษาพระไตรปิฎกและวิชาชั้นสูงของพระสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย ตั้งไว้ที่วัดมหาธาตุยุวราช-รังสฤษฎิ์ ต่อมาวันที่ ๑๓ กันยายน พ.ศ.๒๔๓๙ ได้พระราชทานเปลี่ยนนามมหาธาตุวิทยาลัย เป็นมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เพื่อเป็นที่เฉลิมพระเกียรติยศของพระองค์สืบไป คู่กับมหามกุฏราชวิทยาลัย ของพระสงฆ์ฝ่ายธรรมยุติกนิกาย ที่วัดบวรนิเวศวิหาร เป็นที่เฉลิมพระเกียรติยศของสมเด็จพระบรมชนกนาถของพระองค์นั้น
ในวันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๔๐ รัฐบาลได้ออกกฎหมายรองรับสถานภาพของมหาวิทยาลัย จึงได้ชื่อเพิ่มมาเป็น “มหาวิทยาลัยหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย” นับแต่อดีตถึงปัจจุบัน มหาวิทยาลัยได้ผลิตบัณฑิตระดับปริญญาตรีแล้ว ๖๕ รุ่น บัณฑิตระดับปริญญาโท ๓๐ รุ่น และบัณฑิตระดับปริญญาเอก ๑๖ รุ่น บัดนี้ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย นับแต่อุบัติมาในนามของมหาธาตุวิทยาลัย เป็นเวลาครบรอบ ๑๓๓ ปี ย่อมเป็นที่ชื่นชมโสมนัสเป็นล้นพ้นแก่ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย เป็นธรรมเนียมเมื่อถึงอภิลักขิตสมัยมหามงคลเช่นนี้ จะต้องมีการเฉลิมฉลองตามควรแก่ภาวะวิสัย ท่านผู้บริหาร คณาจารย์ และเจ้าหน้าที่ ทั้งบรรพชิตและคฤหัสถ์ ต่างมีมหากุศลจิตเป็นสมานฉันท์จัดงานครบรอบวันสถาปนา “๑๓๓ ปี มหาจุฬาฯ” ระหว่างวันที่ ๑๒-๑๓ กันยายน พ.ศ.๒๕๖๓ ณ อาคาร มวก.๔๘ พรรษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เพื่อทำบุญอุทิศถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ พระองค์ผู้ทรงสถาปนามหาวิทยาลัย และทำบุญอุทิศให้แก่อดีตอธิบดีสงฆ์วัดมหาธาตุ ในฐานะนายกสภามหาวิทยาลัย ตลอดถึงบุรพาจารย์ ผู้มีอุปการคุณแก่มหาวิทยาลัย เป็นการแสดงกตัญญูกตเวทิตาธรรมแด่สมเด็จพระบรมบพิตรพระราชสมภารเจ้า รัชกาลที่ ๕ และประกาศเกียรติคุณของบุรพาจารย์ ผู้มีส่วนช่วยให้มหาวิทยาลัยแห่งนี้เจริญรุ่งเรืองสืบมา ในอภิลักขิตกาลอันเป็นอุดมมงคลนี้ คณะผู้บริหาร คณาจารย์และเจ้าหน้าที่แห่งมหาวิทยาลัย ทั้งบรรพชิตและคฤหัสถ์ ต่างเห็นร่วมกันเป็นสมานฉันท์ว่าให้มีการจัดกิจกรรมวิชาการและนิทรรศการต่าง ๆ เช่น นิทรรศการเกี่ยวกับประวัติและพัฒนาการ “๑๓๓ ปี มหาจุฬาฯ” เกี่ยวกับอรรถกถาภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาฯ ปาฐกถาพิเศษ เรื่อง มหาจุฬาฯ กับการจัดการศึกษาในสถานการณ์ปัจจุบัน โดย ศ.ดร.สัมพันธ์ ฤทธิเดช เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษาสัมมนาวิชาการระดับชาติและนานาชาติ พิมพ์หนังสือ เพื่อเป็นอนุสรณ์ จำนวน ๒ เล่มคือ (๑) มหาจุฬาฯ งามสง่าสดชื่น กลางทะเลแห่งคลื่นลม (๒) สูจิบัตร และพิธีทอดผ้าป่าสมทบกองทุนพัฒนามหาวิทยาลัย |
หมายเหตุ | เนื่องในงานครบรอบวันสถาปนา “๑๓๓ ปีมหาจุฬาฯ” มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
ระหว่างวันที่ ๑๒-๑๓ กันยายน ๒๕๖๓ |