หนังสือ “พระพิมลธรรม อาสภเถร ไปบําเพ็ญศาสนกิจที่สหภาพพม่า พ.ศ. ๒๔๙๕”   ในคำปรารภกล่าวถึงว่า เจ้าประคุณเจ้า ประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (อาจ อาสภมหาเถระ) เป็นเพชรน้ำเอกของวงการพระพุทธศาสนาแห่งประเทศไทย  ยุครัตนโกสินทร์องค์หนึ่ง  เป็นพระมหาเถระในสังฆมณฑลไทย ที่ที่ได้บําเพ็ญสารประโยชน์ไว้แก่ชาติและพระศาสนา และสถาบันพระมหากษัตริย์ มีความฉลาด เฉียบแหลม  มีวิสัยทัศน์กว้างไกล ยอมอุทิศตนเพื่อพระพุทธศาสนาตลอดชีวิต ได้บำเพ็ญกรณียกิจอันเป็นหิตานุหิตประโยชน์แก่พระพุทธศาสนาไว้อย่างเอนกอนันต์     

ในวโรกาส ๑๑๘ ปี ชาตกาล ของเจ้าประคุณสมเด็จพระพฒาจารย์ (อาจ อาสภมหาเถระ)      ณ วันที่  ๘ พฤศจิกายน .. ๒๕๖๔ นี้ ย่อมเป็นความชื่นชมยินดีของคณะศิษยานุศิษย์และศรัทธาสาธุชน ผู้ซึ่งมีความเคารพนับถือในองค์ท่า  

เจ้าประคุณเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (อาจ อาสภมหาเถระ)        โดยเฉพาะอย่างยิ่งศาสนกิจขององค์ท่านที่เกี่ยวด้วยการศาสนศึกษา ในมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วัดมหาธาตุ กรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยของคณะสงฆ์ไทยนั้น เจ้าประคุณสมเด็จได้ดํารงตําแหน่งสภานายกของมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ๒ ครั้ง เป็นผู้มีบทบาทสำคัญยิ่งที่สนับสนุนด้านการศาสนศึกษา และการอุปถัมภ์โดยประการอื่น เป็นผู้ริเริ่มดําเนินการก่อสร้างอาคารมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ใช้เป็นสถานที่ศึกษาเล่าเรียนของบรรดานิสิตนักเรียนอยู่ในปัจจุบัน ริเริ่มปริวรรตและจัดพิมพ์พระไตรปิฎกภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาเตปิฎกํ ๒๕๐๐ งานด้านวิปัสสนาธุระ งานธุดงควัตร อภิธรรมโชติกะวิทยาลัย  จึงนับได้ว่า เจ้าประคุณสมเด็จเป็นบุพพการีของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยรูปหนึ่ง

ณ วโรกาสแห่ง วโรกาส ๑๑๘ ปี ชาตกาล ของเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์  น้อมถวายแด่องค์ท่าน ณ วันเสาร์ที่ ๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๑๘ นี้ ผู้บริหาร คณาจารย์ เจ้าหน้าที่  นิสิต  ของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ได้ร่วมสมานฉันท์ด้วยกัลยาณจิต จัดพิมพ์หนังสือเรื่อง “พระพิมลธรรม อาสภเถร ไปบําเพ็ญศาสนกิจที่สหภาพพม่า .. ๒๔๙๕” เล่มนี้  ซึ่งเป็นศาสนกิจสําคัญประการหนึ่งที่องค์ท่านได้ปฏิบัติมาในอดีต ขึ้นน้อมถวายแด่เจ้าประคุณสมเด็จเป็นส่วนปูชนียานุสรณ์

Attachments