ชื่อ | คู่มือ ประโยค ป.ธ.๓ อรรถกถาธรรมบท ภาค ๕ แปลโดยอรรถ |
ISBN | 978-616-300-160-3 |
ภาษา | ไทย |
ตีพิมพ์ปี | พฤษภาคม ๒๕๕๘ |
จำนวน | ๑,๐๐๐ เล่ม |
จำนวนหน้า | ๑๒๒ |
ผู้แปล | คณาจารย์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย |
โรงพิมพ์ | มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย |
ราคาปก | ๗๕ บาท |
เนื้อหาโดยย่อ | คู่มือ ประโยค ป.ธ.๓ “อรรถกถาธรรมบท ภาค ๕ แปลโดยอรรถ” เล่มนี้ แปลมาจากอรรถกถาธรรมบท ภาษาบาลี ภาค ๕ ซึ่งเป็นผลงานของพระพุทธโฆสาจารย์ นักปราชญ์ชาวอินเดีย ผู้มีชื่อเสียงกึกก้อง เดินทางไปสิงหล (เกาะลังกา) เพื่อแปลพระไตรปิฎกและอรรถกถาจากภาษาสิงหลเป็นภาษาบาลี เมื่อ พ.ศ.๙๕๖ เป็นสำนวนการแปลอรรถกถา ซึ่งเป็นหลักสูตรวิชาแปลมคธเป็นไทย ชั้นประโยค ป.ธ.๓ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ศึกษาเนื้อหาหรือเรื่องราว จำนวน ๓ วรรค คือ
ปาปวรรค หมวดว่าด้วยบาป มุ่งเน้นให้รู้จักบุญและบาป รวมทั้งผลของบุญและบาปว่ามีความแตกต่างกัน ให้พยายามรีบเร่งทำบุญและเว้นบาป บุญต้องหาบ บาปต้องละ ถ้าทำบุญช้า บาปมักจะเข้ามาแทนที่ ทัณฑวรรค หมวดว่าด้วยอาชญา มุ่งเน้นเกี่ยวกับการลงทัณฑ์ คือการใช้กำลังทำร้าย เข่นฆ่าหรือเบียดเบียนผู้อื่น ให้ได้รับความเดือดร้อน หรือพูดวาจาหยาบคายให้รายป้ายสี มุ่งหมายให้เห็นว่า สัตว์ทั้งหลายรักสุข เกลียดทุกข์ด้วยกันทั้งนั้น ไม่ควรเบียดเบียนกัน ผู้ที่เบียดเบียนผู้อื่น จะได้รับโทษต่างๆ เช่น ได้รับทุกขเวทนาอย่างแรงกล้า เสื่อมทรัพย์ ถูกทำร้าย มุ่งหมายให้เว้นการลงทัณฑ์ ให้อยู่เหมือนพราหมณ์(ผู้ลอยบาป) สมณะ(ผู้สงบ) ภิกษุ (ผู้ทำลายกิเลส) ชราวรรค หมวดว่าด้วยชรา มุ่งเน้นเกี่ยวกับความชรา คือความแก่ ความทรุดโทรม ซึ่งเป็นเสมือนไฟเผาผลาญชีวิตสรรพสัตว์อยู่เป็นนิตย์ ความแก่ชรานี้ แม้จะเป็นความจริงด้านหนึ่งของชีวิต แต่ก็ไม่เป็นที่น่าปรารถนาของมนุษย์ไม่ว่าหญิงหรือชาย หากสอนเรื่องนี้ด้วยวิธีการธรรมดา อาจไม่เป็นที่พอใจของผู้ฟัง และไม่เกิดประโยชน์มากนัก มุ่งหมายให้ใช้วิธีการสอนต่างๆ กัน เช่น ทรงสอนอุตตราภิกษุณีผู้มีอายุ ๑๒๐ ปีว่า “ร่างกายนี้แก่หง่อมแล้ว เป็นที่อาศัยของโรค แตกทำลายง่าย ร่างกายอันเน่าเปื่อยผุพังนี้ จักแตกสลายทำลายไป เพราะชีวิตสั้นสุดลงที่ความตาย” ผลจากพระดำรัสนี้ ทำให้อุตตราภิกษุณี บรรลุเป็นพระโสดาบัน อันธรรมดาว่าแม้ชีวิตจะต้องแก่ชราไป ตามกาลเวลา ถ้ารู้จักแสวงหาปัญญา และไม่ประมาท ไม่มัวเมาอยู่ในโลก ก็เป็นการแก่อย่างมีคุณค่า ไม่แก่เปล่า คู่มือ ประโยค ป.ธ.๓ “อรรถกถาธรรมบท ภาค ๕ แปลโดยอรรถ” เล่มนี้ แปลโดยคณาจารย์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย กล่าวถึงเนื้อหาหรือเรื่องราวปาปวรรค หมวดว่าด้วยบาป มีจำนวน ๑๒ เรื่อง ๑๖ คาถา ในวรรคนี้ มุ่งเน้นถึงบาปคำว่าบาปหมายถึงกายทุจริตวจีทุจริตมโนทุจริตหรืออกุศลจิตพระผู้มีพระภาคตรัสสอนให้เห็นโทษของการทำบาป คือความทุกข์ และให้ละเว้นหลีกเลี่ยงจากบาป ดุจคนรักชีวิตหลีกเลี่ยงยาพิษได้ ให้เห็นอานิสงส์คือความสุขที่เกิดจากการสั่งสมบุญคือกายสุจริตวจีสุจริตมโนสุจริตและการให้ทานการบำเพ็ญวัตรมีอุปัชฌายวัตรเป็นต้นให้รีบทำบุญเพราะถ้าทำบุญช้าใจจะยินดีในบาปคนทำบาปย่อมได้รับผลของบาปมิอาจจะหลีกลี้หนีพ้นไปได้ดุจเดียวกับความตายที่ไม่อาจจะพ้นไปได้ฉะนั้นกล่าวถึงเนื้อหาหรือเรื่องราวทัณฑวรรค หมวดว่าด้วยอาชญา มีจำนวน ๑๑ เรื่อง ๑๗ คาถา ในวรรคนี้ มุ่งเน้นการลงทัณฑ์คำว่าลงทัณฑ์คือการใช้กำลังทำร้ายเข่นฆ่าหรือเบียดเบียนบุคคลอื่นหรือสัตว์อื่นให้ได้รับความเดือดร้อนโดยการใช้ท่อนไม้ก้อนดินและวาจาที่ หยาบคายให้ร้าย ป้ายสี ทรงแสดงว่า ความเดือดร้อนความทุกข์ไม่มีใครต้องการสัตว์ทั้งหลายย่อมกลัวความทุกข์ความเดือดร้อนจะมีก็แต่พระขีณาสพเท่านั้นที่ปราศจากความกลัวเมื่อรู้อย่างนี้จึงไม่ควรเบียดเบียนสัตว์อื่นและไม่ควรให้ใครเบียดเบียนเพราะผู้เบียดเบียนผู้อื่นย่อมได้รับโทษอย่าง๑ใน๑๐อย่างคือมี ทุกขเวทนาอย่างแรงกล้า เป็นต้น นอกจากนี้ยังทรงแสดงให้เข้าถึงความเป็นพราหมณ์ (ผู้ลอยบาป) ความเป็นสมณะ (ผู้ระงับบาป) ความเป็นภิกษุ (ผู้ทำลายกิเลสได้) โดยการป้องกันอกุศลวิตกด้วยความมีหิริและสังเวคธรรมคือสโหตตัปปญาณ (ญาณที่มีโอตตัปปะ) เพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะมีสติมั่นคงเป็นเหตุให้ถึงความสิ้นไปแห่งวัฏฏทุกข์ และกล่าวถึงเนื้อหาหรือเรื่องราวชราวรรค หมวดว่าด้วยชรา มีจำนวน ๙ เรื่อง ๑๑ คาถา ในวรรคนี้ มุ่งเน้นความชราคำว่าชราหมายถึงความแก่ความทรุดโทรมจัดเป็นกองหนึ่งในไฟ๑๑กองที่แผดเผาสรรพสัตว์ทั้งหลายอยู่เป็นนิตย์ไฟ๑๑กองนั้นคือราคะโทสะโมหะชาติชรามรณะโสกะปริเทวะทุกข์โทมนัสและอุปายาส พระผู้มีพระภาคทรงแสดงว่าเหตุที่สัตว์ทั้งหลายถูกไฟ๑๑กองนี้เผาก็เพราะถูกความมืดคืออวิชชาปกคลุมไว้ดังนั้น จึงควรรีบแสวงหาดวงประทีปคือญาณไม่ควรประมาทยึดติดในร่างกายนี้ที่เป็นรังแห่งโรคมีแต่จะเก่าทรุดโทรมแตกสลายไปแต่ธรรมของสัตบุรุษคือโลกุตตรธรรม๙ประการหาได้เก่าแก่ทรุดโทรมไปไม่
|